เช็กสลิปปลอม

เตือนภัยร้านค้าออนไลน์ เช็กสลิปปลอมยังไง

เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสลิปที่ส่งมานั้นเป็นสลิปจริง ดังนั้นร้านค้าออนไลน์ก็จะต้องทราบวิธีการตรวจสลิปปลอม เพราะในยุคนี้การโกงสลิปนั้นมีข่าวให้เห็นอยู่เป็นประจำ  อย่างเรื่อง สาวที่ปลอมสลิปโอนเงินเพื่อซื้อหมูกว่า 200 รายการ ระยะเวลานานกว่า 5 เดือน และมีมูลค่าความเสียหายกว่าล้านบาท ในช่วงเดือนกันยายน ปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งมิจฉาชีพนั้นหลอกลวงว่าได้โอนเงินค่าสินค้าไปแล้ว มีการปลอมแปลงสลิปปรับแต่งมาซื้อของ แต่จริง ๆ แล้วนั้นยังไม่ได้โอนเงินไปเลย แต่ทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์นั้นเข้าใจว่าโอนแล้ว และได้ส่งสินค้าให้ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อการขายสินค้าออนไลน์อย่างมาก และในบทความนี้มีวิธีเช็กสลิปปลอม ดังนี้

1. สังเกตตัวหนังสือ ตัวเลขและความละเอียดของสลิปการโอน

เพราะตัวหนังสือบนสลิป ไม่ว่าจะเป็นชื่อผู้โอน จำนวนเงิน วันที่ เวลา อาจจะเป็นตัวหนังสือที่แตกต่างกัน ความหนาบางของตัวอักษรก็จะต่างกัน รวมไปถึงความถูกต้องของข้อมูล เช่น ชื่อของบัญชีปลายทางที่อาจจะสะกดชื่อผิด หรือวันเวลาที่โอน ซึ่งเป็นจุดผิดพลาดที่มิจฉาชีพอาจจะพลาดได้ ซึ่งจะต้องตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าจะเป็นสลิปปลอมหรือไม่

2. สแกน QR code บนสลิปโอนเงิน

สลิปโอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน จะมี QR code ให้เพื่อตรวจสอบอีกหนึ่งขั้น ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทั้งชื่อผู้โอน จำนวนเงิน วันและเวลาที่โอนเงิน ซึ่งหากยอดไม่ตรงกับหน้าสลิปหรือไม่สามารถตรวจสอบจาก QR code ได้ ก็จะต้องสงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นสลิปปลอมได้ 

วิธีการง่าย ๆ ทำได้เบื้องต้น เข้าไปที่แอปพลิเคชันของธนาคารที่รับโอน และเลือกสแกน QR code ซึ่งสามารถเลือกรูปผ่านทางโทรศัพท์ได้เช่นกัน หากเราได้กดเซฟรูปไว้ในโทรศัพท์ และก็สามารถตรวจสอบการยอดโอนเงินว่าตรงกับสลิปหรือไม่

3. ใช้บริการการแจ้งเตือนของธนาคาร

เราใช้บริการการแจ้งเตือนของทางธนาคาร เมื่อลูกค้าโอนเงินเข้ามา ทางแอปพลิเคชันหรือ SMS จะแจ้งเตือนจำนวนเงินเข้าบัญชี เพื่อทำให้เรามั่นใจว่าเงินนั้นเข้าจริง ๆ และนำไปเทียบกับสลิปที่ทางลูกค้าส่งมาว่าตรงกันหรือไม่ ทั้งวันเวลาในการโอนเงิน 

ตัวอย่างการสมัคร SMS แจ้งเตือนของทางธนาคารกสิกรไทย เราสามารถสมัครทั้งทางแอปพลิเคชัน คอลเซนเตอร์ของทางธนาคารหรือตู้เอทีเอ็ม จะยกตัวอย่างจากการสมัครผ่านแอปพลิเคชัน เข้าสู่ระบบผ่านแอปพลิเคชัน เลือกสมัครบริการ ถัดมาเลือกบริการ SMS ขยันบอกและกดสมัคร เพียงแค่นี้ก็สมัครเสร็จแล้ว

4. ใช้บริการ Line Official ของธนาคาร

วิธีการนี้จะไม่ได้ช่วยตรวจสอบการโกงสลิปได้โดยตรง แต่จะช่วยในการแจ้งเตือนความเคลื่อนไหวของบัญชี ทั้งยอดเงินเข้า – ออกจากบัญชี ซึ่ง Line Official ของแต่ละธนาคารจะสามารถผูกกับบัญชีออมทรัพย์เพื่อรับการแจ้งเตือนการทำธุรกรรมทางการเงินได้ และสามารถช่วยในเรื่องการตรวจสอบยอดโอนของลูกค้าว่าได้โอนเงินเข้ามาจริง ๆ หรือไม่

5. ใช้ระบบจัดการร้านที่มีฟังก์ชันช่วยตรวจสอบสลิปโอนเงินแบบอัตโนมัติ

วิธีการนี้จะเหมาะกับร้านค้าออนไลน์ที่มียอดสั่งซื้อเข้ามาพร้อมกันเป็นจำนวนมาก และมียอดโอนเงินเข้ามาหลายรายการ เพราะถ้าเราไปตรวจสลิปและยอดเงินทีละคนก็จะต้องใช้เวลาเยอะมาก ๆ  ซึ่งทำให้ระบบฟังก์ชันช่วยตรวจสอบสลิปและยอดเงินเข้ามาแบบอัตโนมัติ ที่จะช่วยจัดระบบการจัดร้านค้า ทำให้ร้านค้าลดขั้นตอนการตรวจสอบสลิปและช่วยประหยัดเวลาอย่างมาก

6. ไม่ควรนำสลิปไปลงในสื่อสังคมออนไลน์

เพราะเหตุใดถึงไม่ควรนำสลิปไปลงในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อป้องกันการคัดลอกสลิปจากมิจฉาชีพนำไปตัดต่อ และนำไปหลอกลวงพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต่อได้ง่ายมากขึ้น

ดังนั้นหากไม่อยากโดนกลโกงสลิปนั้น ก็นำวิธีการเช็กสลิปปลอมเหล่านี้ไปเช็กดูได้ ช่วยป้องกันการถูกมิจฉาชีพโกงเงินของเราไปได้ ซึ่งวิธีการเหล่านี้เราสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละคนได้เลย ทำให้พ่อค้าแม่ค้าสบายใจมากขึ้น ว่าสลิปที่ได้มานั้นไม่ปลอมอย่างแน่นอน

หลังจากเช็กสลิปกันเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาแพ็คของเตรียมจัดส่ง เลือกส่งพัสดุกับ นินจาแวน ผู้ช่วยร้านค้าออนไลน์ให้จัดการทุกเรื่องพัสดุได้อย่างสบายใจหายห่วง

Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

รับเคล็ดลับในการทำธุรกิจให้ปัง ส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

สมัครรับ Newsletter ผ่านอีเมลกับนินจาแวน เพื่อรับเคล็ดลับในการทำธุรกิจ ทั้งการตลาด การสร้างแบรนด์ การสร้างกลยุทธ์เพื่อลุยออนไลน์ การขนส่ง และทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ เพื่อให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้เลย

การกด "สมัครรับข่าวสาร" เท่ากับว่าคุณยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา และคุณยินยอมให้เราใช้ข้อมูลบัญชีของคุณเพื่อการส่ง Newsletter