ร้านค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนมั้ย ไม่จดได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ร้านค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนมั้ย ไม่จดได้ไหม มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง 

ใครบ้างที่ต้อง จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ?

การจดทะเบียนนันจำเป็นจะต้องจดภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันเริ่มขายสินค้าออนไลน์ หลังจากที่จัดทำเว็บไซต์สำเร็จครบถ้วนเรียบร้อย โดยผู้ที่จำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับ DBD Registered ได้แก่

1. ผู้ขายสินค้า/บริการ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ Social Media

2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)

3. ผู้ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (WebHosting)

4. ผู้ให้บริการเป็นตัวกลางในการซื้อขายสินค้า/บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต (E-Marketplace) เช่น Lazada Shopee TikTok และอื่น ๆ

ร้านค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียน ผู้ขายสินค้าและบริการ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ Social Media

ทำไม? ต้อง “จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์”

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นจะทำให้ผู้ค้าได้รับตราสัญลักษณ์​ DBD Registered มาสำหรับใช้ประกอบในหน้าเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของคุณ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการยืนยันสถานะทางกฎหมาย เพื่อให้การทำธุรกิจกับหน่วยงานต่าง ๆ ราบรื่นยิ่งขึ้นอีกด้วย

ไม่ยื่น จดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ มีความผิดไหม ? 

มีความผิด ตาม “ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2553 มาตรา 5” ซึ่งบังคับให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ 4 รูปแบบที่ได้ชี้แจงไปข้างต้นนั้นจำเป็นต้องจดทะเบียน และใน “พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499” เป็นกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษในมาตรา 19 ระบุว่า ผู้ประกอบพาณิชยกิจผู้ใด (1) ไม่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ (2) แสดงรายการเท็จ หรือ (3) ไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ทะเบียนพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และในกรณีตาม (1) อันเป็นความผิดต่อเนื่องกัน ให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ขั้นตอนการ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. เตรียมเอกสารให้พร้อม จดทะเบียนร้านค้าออนไลน์

เอกสารที่จำเป็นทั้งหมด ได้แก่

เอกสารสำหรับบุคคลธรรมดา

สำหรับร้านค้าที่มีชื่อเจ้าของเพียงคนเดียว ต้องเตรียมเอกสารสำหรับบุคคลธรรมดา ซึ่งมีดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบการ
  • แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ แบบ ทพ. 
  • เอกสารประกอบการ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอกสารแนบแบบ ทพ.
  • พิมพ์หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ สินค้าหรือบริการที่ประกอบการ และวิธีการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า
  • วาดแผนที่ตั้งสถานประกอบการ
  • เอกสารการจดโดเมนเนม (ชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนนามต้องเป็นชื่อเดียวกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์)
  • กรณีมีการมอบอำนาจ ให้แนบหนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารสำหรับนิติบุคคล

สำหรับร้านค้าที่มีเจ้าของหรือมีการถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และมีการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ต้องเตรียมเอกสารสำหรับนิติบุคล ซึ่งมีดังนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบการ
  • แบบคำขอ จดทะเบียนพาณิชย์ หรือ แบบ ทพ. 
  • เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอกสารแนบแบบ ทพ.
  • พิมพ์หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ สินค้าหรือบริการที่ประกอบการ และวิธีการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า
  • วาดแผนที่ตั้งสถานประกอบการ
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
  • เอกสารการจดโดเมนเนม (ชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนนามต้องเป็นชื่อเดียวกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์)
  • กรณีมีการมอบอำนาจ ให้แนบหนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

2. ยื่นขอ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้ยื่นจดทะเบียนสามารถ ยื่นจดได้ทั้งช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://ereg.dbd.go.th หรือสามารถไปยื่นจดทะเบียนโดยตรงได้ที่สำนักงานภายในกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้

1. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้เดินทางไปที่ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต 50 เขต ได้ตามสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ และ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ศาลาว่าการ กทม. ซึ่งครอบคลุมทั้ง 50 เขต

2. ผู้ประกอบการที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่เทศบาลองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ตามสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ

โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย ดังนี้

  • การจดทะเบียนพาณิชย์ 50 บาท
  • การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ 20 บาท
  • การจดทะเบียนยกเลิก 20 บาท

3. ยื่นขอเครื่องหมาย DBD Registered

เอกสารที่ต้องใช้ได้แก่

1. สำเนาใบจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว (แบบ พค. 0403)

2. สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนม

จากนั้นให้ส่งเอกสารทั้งหมดไปที่ E-mail : e-commerce@dbd.go.th และรอเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รับเอกสารหรือ E-mail แจ้งเตือนให้ธุรกิจสามารถนำสัญลักษณ์ DBD ไปใช้บนเว็บไซต์ของธุรกิจได้แล้ว

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับเครื่องหมาย DBD Registered

เป็นยังไงกันบ้าง หลังจากเตรียมเว็บไซต์เรียบร้อยแล้วก็สามารถ เตรียมเอกสารต่าง ๆ รอจัดทะเบียนกันไว้ได้เลย หากใครอยากได้เทคนิคการซื้อขายสินค้า การตอบแชทออนไลน์ หรือข้อมูลเบื้องลึกเพิ่มเติม ก็อย่าลืมติดตามบล็อกของ นินจาแวน กันไว้ให้ดีล่ะ

แต่ถ้าหากใครที่ต้องการส่งพัสดุ นินจาแวน มีบริการจัดส่งพัสดุทั่วประเทศไทย ที่สะดวก รวดเร็ว ถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย ลงทะเบียนเป็นผู้ส่งพัสดุได้เลย! 

Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

รับเคล็ดลับในการทำธุรกิจให้ปัง ส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

สมัครรับ Newsletter ผ่านอีเมลกับนินจาแวน เพื่อรับเคล็ดลับในการทำธุรกิจ ทั้งการตลาด การสร้างแบรนด์ การสร้างกลยุทธ์เพื่อลุยออนไลน์ การขนส่ง และทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ เพื่อให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้เลย

การกด "สมัครรับข่าวสาร" เท่ากับว่าคุณยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา และคุณยินยอมให้เราใช้ข้อมูลบัญชีของคุณเพื่อการส่ง Newsletter