เริ่ม สร้างเว็บขายของออนไลน์ ต้องลงทุนเท่าไหร่ ใช้เวลาเยอะไหม
การจะสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์หนึ่ง ๆ ขึ้นมานั้น มีทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับการออกแบบเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์ ทั้งยังมีค่าดูแลรักษา ค่าจดโดเมน เช่า Hosting อีกทั้งแต่ละอย่างก็ต้องใช้เวลาแตกต่างกันไป ตามความถนัดของเรา หรือผู้ที่เราว่าจ้าง ดังนี้
- ค่าจดโดเมนหรือจดเว็บไซต์ 400 – 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับนามสกุลเว็บไซต์ที่ต้องการใช้
- นามสกุล .com, .net, .in.th ราคาประมาณ 400-500 บาท
- นามสกุล .co.th ราคาประมาณ 1,000 บาท
- ค่าเช่าโฮสติ้ง (Hosting) ราคาตั้งแต่ 1,500 – 3,000 บาท ต่อปี
- ค่าแพลตฟอร์มในการทำเว็บไซต์ ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่ใช้ มีทั้งฟรี และจ่ายรายเดือนหรือรายปี
- ค่าธีมของ WordPress ที่ใช้ ราคาหลากหลาย แล้วแต่ธีมท่ีเลือกใช้ ตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท
- ค่าจ้างทำกราฟิค (ถ้ามี) ราคาโดยเฉลี่ย 5,000 – 20,000 บาท โดยสามารถหาได้จากเซ็บไซต์รวมฟรีแลนซ์อย่าง Fastwork ที่รวมฟรีแลนซ์สำหรับทำงานทุก ๆ ด้านไว้ให้เลือกใช้ โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-4 อาทิตย์
- ค่าจ้างทำเว็บไซต์ (ถ้ามี) 5,000-15,000 บาท โดยราคาเริ่มต้นนั้น จะเป็นราคาสำหรับเว็บไซต์ที่จำนวนหน้าไม่เยอะมาก ในส่วนนี้เราสามารถเลือกที่จะค่อย ๆ เรียนรู้ และทำเองไปได้ แต่ถ้าหากต้องการความรวดเร็วก็สามารถจ้างได้เช่นกัน โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-4 อาทิตย์
สรุป ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ของการทำเว็บไซต์ขายของจะอยู่ที่ 4 ข้อแรก เท่ากับ 2,900-6,500 บาทเท่านั้น โดยประมาณ ส่วนข้อ 5 และ 6 นั้น หากคุณอยากเรียนรู้ด้วยตัวเอง ก็สามารถค่อย ๆ เรียนการทำเว็บไซต์ และลองผิดลองถูกกับกราฟฟิคบนเว็บไซต์ไปได้ แต่ก็ต้องแลกมากับการใช้เวลาที่มากขึ้นอาจนานถึง 3-4 เดือน ทั้งจากการเรียนรู้ และความไม่ชำนาญในเรื่องหลักการออกแบบเว็บไซต์ แต่หากจ้างให้คนช่วยออกแบบและทำเว็บไซต์ให้ ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มไปเป็นประมาณ 13,000-40,000 บาทเลยทีเดียว
เริ่มสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ สร้างด้วยอะไรดีกว่ากัน
WordPress
WordPress เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับทำเว็บไซต์ออนไลน์อันดับ 1 ตลอดกาล ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับทำเว็บไซต์ที่ไม่ซับซ้อนอย่างการทำบล็อกบทความ เว็บไซต์ขายของเบื้องต้น ไปจนถึงเว็บไซต์ที่ซับซ้อนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน เนื่องจาก WordPress นั้นมีปลั๊กอินมาเป็นตัวช่วยมากมาย ทั้งยังสามารถใช้งานปรับแต่งได้ง่าย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานใด ๆ มากมายนัก
ข้อดีของ WordPress:
- สามารถใช้งานได้ฟรี!
- WordPress มีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและเข้าใจได้สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการเขียนโค้ดเพื่อสร้างและบริหารเว็บไซต์ก็สามารถใช้งานได้
- มีธีมและปลั๊กอินที่สามารถใช้ปรับแต่งรูปแบบและฟังก์ชันของเว็บไซต์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทำระบบตะกร้าสินค้า การชำระเงิน ทำให้เว็บโหลดไว ให้คนเสิร์ชเจอเยอะ ๆ ทำให้สามารถกำหนดรูปแบบและความสามารถของเว็บไซต์ให้ตรงตามความต้องการของคุณ
- มีผู้ใช้งานเยอะทั่วโลก ชุมชนของผู้พัฒนาและผู้ใช้ WordPress ที่ใหญ่ทั่วโลก ทำให้มีแหล่งทรัพยากรมหาศาลสำหรับคำถาม คำแนะนำ และการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ WordPress
- แม้ว่า WordPress จะเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการโจมตีบ่อยครั้งจากผู้ไม่หวังดี เช่นการโจมตีด้วยช่องโหว่ของปลั๊กอิน แต่โดยทั่วไปแล้ว WordPress มีการปรับปรุงและมีการอัปเดตเพื่อเสริมความปลอดภัย
ข้อเสียของ WordPress:
- ความยืดหยุ่นจำกัด บางครั้ง WordPress อาจจำเป็นต้องมีการปรับแต่งเพิ่มเติมหรือเขียนโค้ดเพื่อให้ได้รูปแบบหรือฟังก์ชันที่ต้องการ นอกจากนี้การใช้ปลั๊กอินจำนวนมากอาจทำให้เกิดความขัดแย้งหรือปัญหาความสมดุลของระบบ
- อาจมีความช้าเมื่อมีการโหลดหน้าเว็บที่ซับซ้อนหรือมีปลั๊กอินและธีมจำนวนมาก ต้องการการปรับแต่งและการตั้งค่าให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพที่ดี
- ปัญหาความปลอดภัย: ถึงแม้ว่า WordPress จะมีการปรับปรุงความปลอดภัย แต่ยังมีโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีสามารถโจมตีเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress ได้ อาจต้องดูแลการปรับแต่งและการรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
- การอัปเกรด WordPress ธีม และปลั๊กอินบางตัวอาจเกิดข้อขัดแย้งหรือไม่สามารถทำงานร่วมกันได้กับเวอร์ชันใหม่ของ WordPress ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการอัปเกรดเว็บไซต์
Wix
Wix อีกหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับทำเว็บไซต์แบบง่าย ๆ ยอดฮิตทั่วโลก เพราะออกแบบมาให้ทำง่าย ลาก ๆ วาง ๆ พร้อมมีธีมมาให้เลือกสรรแบบที่ไม่ต้องทำเองเยอะ เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจรายเล็กที่ฝันอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
ข้อดีของ Wix:
- Wix มีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและมีการลากและวางสิ่งของที่สะดวกสบาย ทำให้มีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนโค้ด ไม่ต้องเรียนรู้เยอะก็สามารถใช้งานได้
- มีธีมและวิตเจ็ต (Widget) ที่หลากหลายให้เลือก คุณสามารถเลือกธีมที่ตรงกับความต้องการและสไตล์ของเว็บไซต์ของคุณได้
- มีการนำเสนอฟีเจอร์และปลั๊กอินต่างๆ ที่คุณสามารถเพิ่มเข้าไปในเว็บไซต์ของคุณได้ สามารถทำเว็บไซต์ขั้นพื้นฐานได้ทั้งหมด เช่น แบบฟอร์มติดต่อ, แผนที่ Google, สร้างร้านค้าออนไลน์ ฯลฯ
- มีบริการโฮสติ้งในตัว ทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องการหาโฮสต์เว็บไซต์แยกต่างหาก และมีการจัดการด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพให้คุณ
- มีเวอร์ชันฟรีที่สามารถใช้งานได้โดยไม่หมดอายุ
ข้อเสียของ Wix:
- ในรุ่นฟรีของ Wix อาจมีการแสดงโฆษณาของ Wix บนเว็บไซต์ของคุณอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อประสบการณ์ผู้ใช้และความมืออาชีพของเว็บไซต์ได้
- ขนาดไฟล์และความเร็วของเว็บไซต์: เว็บไซต์ที่ใช้ Wix อาจมีขนาดไฟล์ใหญ่และความเร็วในการโหลดที่ช้ากว่าเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยวิธีการอื่นๆ นอกจากนี้ เมื่อมีการเพิ่มฟีเจอร์หรือปลั๊กอินจำนวนมาก อาจส่งผลให้เว็บไซต์ช้าลง
- Wix มีการจำกัดสิทธิ์ในการเขียนโค้ดและปรับแต่งตามต้องการ นอกจากนี้ หากต้องการย้ายเว็บไซต์ออกจากแพลตฟอร์ม Wix ขั้นตอนจะมีความซับซ้อน
- โดเมนสำหรับแพคเกจฟรีจะมีชื่อ url ที่ยาว จดจำยาก หากจะปรับต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ตัวอย่างขั้นตอนการวิธีการ สร้างเว็บขายของออนไลน์ ด้วย WordPress
ก่อนที่จะเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์บน WordPress สิ่งที่ควรทำคือ วางแผนและออกแบบเว็บไซต์ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ที่ต้องการจะสร้างขึ้นก่อน และวางแผนโครงสร้าง (site map) เพื่อให้เป็นแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ของคุณ
1. จด Domain
หลักการตั้งชื่อโดเมนหรือเว็บไซต์ง่าย ๆ คือ ชื่อโดเมนให้ สั้น กระชับ จดจำง่าย พิมพ์ง่าย ๆ และตั้งชื่อให้สื่อความหมายถึงสิ่งที่ธุรกิจที่ทำ รวมไปถึงการใช้นามสกุลที่เห็นได้บ่อย ๆ อย่าง .com .co หรือ .co.th เพื่อให้ลูกค้าไม่สับสน โดยราคาโดเมนนั้นจะมีตั้งแต่ 400-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับนามสกุลและโดเมนที่เลือกใช้ ซึ่งเว็บไซต์หลัก ๆ ที่คนมักจะไปซื้โดเมนกัน ได้แก่ Go Daddy, Namecheap, Hostatom เป็นต้น
2. เลือก Hosting หรือเลือกผู้ให้บริการเก็บข้อมูลเว็บไซต์
โฮสติ้งนั้นมีความสำคัญเนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดความเร็ว และประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยหากเป็นมือใหม่ ควรเลือกโฮสติ้งของไทยเพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา และควรเป็น PHP web server ควรใช้เวอร์ชั่น PHP 7.2 และเป็นเว็บแบบ HTTPS ไม่ใช่ HTTP แต่อาจจะไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่จัดเก็บมากนัก เนื่องจากเว็บ WordPress ทั่ว ๆ ไปจะไม่ได้กินพื้นที่เยอะอยู่แล้ว
3. ติดตั้ง WordPress บน Hosting
ขั้นตอนในการติดตั้ง wordpress นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละ Hosting ที่ใช้ แต่หลัก ๆ แล้วจะเป็นการ เข้าสู่ระบบหลังบ้านของ Hosting แล้วเข้าสู่ Direct Admin เพื่อไปกด Install WordPress ในส่วนของการติดตั้ง CMS ต่าง ๆ
4. สร้างระบบตระกร้าสินค้า (Woocommerce)
เมื่อติดตั้ง WordPress และทำการออกแบบ ปรับหน้าตาเว็บไซต์ตามธีมต่าง ๆ แล้วอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือการสร้างระบบตะกร้า ในที่นี่จะนิยมใช้ Plugin ที่ชื่อ Woocommerce กันเพราะว่าเป็นปลั๊กอินฟรี ที่สามารถลงรายละเอียดสินค้า การจัดส่ง การชำระเงิน ทำระบบสต็อกต่าง ๆ ได้อย่างครบครัน เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์แบบสุด ๆ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างคร่าว ๆ ของการทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์เท่านั้น หากใครอยากได้เทคนิคการซื้อขายสินค้า การตอบแชทออนไลน์ หรือข้อมูลเบื้องลึกเพิ่มเติม ก็อย่าลืมติดตามบล็อกของ นินจาแวน กันไว้ให้ดี แต่ถ้าหากต้องการส่งพัสดุ ให้ นินจาแวน เป็นผู้ช่วยจัดส่งพัสดุให้กับคุณ เรามีบริการจัดส่งพัสดุทั่วประเทศไทย ที่สะดวก รวดเร็ว ถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย ลงทะเบียนเป็นผู้ส่งพัสดุได้เลย!