เปิดหมด สร้างเว็บขายของออนไลน์ แพงไหม ลงทุนเท่าไหร่ ต้องทำยังไง

เปิดหมด สร้างเว็บขายของออนไลน์ แพงไหม ลงทุนเท่าไหร่ ต้องทำยังไง

เริ่ม สร้างเว็บขายของออนไลน์ ต้องลงทุนเท่าไหร่ ใช้เวลาเยอะไหม

การจะสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์หนึ่ง ๆ ขึ้นมานั้น มีทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับการออกแบบเว็บไซต์ การทำเว็บไซต์ ทั้งยังมีค่าดูแลรักษา ค่าจดโดเมน เช่า Hosting อีกทั้งแต่ละอย่างก็ต้องใช้เวลาแตกต่างกันไป ตามความถนัดของเรา หรือผู้ที่เราว่าจ้าง ดังนี้

  1. ค่าจดโดเมนหรือจดเว็บไซต์ 400 – 1,000 บาท ขึ้นอยู่กับนามสกุลเว็บไซต์ที่ต้องการใช้
  • นามสกุล .com, .net, .in.th ราคาประมาณ 400-500 บาท
  • นามสกุล .co.th ราคาประมาณ 1,000 บาท
  1. ค่าเช่าโฮสติ้ง (Hosting) ราคาตั้งแต่ 1,500 – 3,000 บาท ต่อปี
  2. ค่าแพลตฟอร์มในการทำเว็บไซต์ ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่ใช้ มีทั้งฟรี และจ่ายรายเดือนหรือรายปี
  3. ค่าธีมของ WordPress ที่ใช้ ราคาหลากหลาย แล้วแต่ธีมท่ีเลือกใช้ ตั้งแต่ 1,000-2,500 บาท
  4. ค่าจ้างทำกราฟิค (ถ้ามี)  ราคาโดยเฉลี่ย 5,000 – 20,000 บาท โดยสามารถหาได้จากเซ็บไซต์รวมฟรีแลนซ์อย่าง Fastwork ที่รวมฟรีแลนซ์สำหรับทำงานทุก ๆ ด้านไว้ให้เลือกใช้ โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-4 อาทิตย์
  5. ค่าจ้างทำเว็บไซต์​ (ถ้ามี) 5,000-15,000 บาท โดยราคาเริ่มต้นนั้น จะเป็นราคาสำหรับเว็บไซต์ที่จำนวนหน้าไม่เยอะมาก ในส่วนนี้เราสามารถเลือกที่จะค่อย ๆ เรียนรู้ และทำเองไปได้ แต่ถ้าหากต้องการความรวดเร็วก็สามารถจ้างได้เช่นกัน โดยจะใช้เวลาประมาณ 2-4 อาทิตย์

สรุป ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ของการทำเว็บไซต์ขายของจะอยู่ที่ 4 ข้อแรก เท่ากับ 2,900-6,500 บาทเท่านั้น โดยประมาณ ส่วนข้อ 5 และ 6 นั้น หากคุณอยากเรียนรู้ด้วยตัวเอง ก็สามารถค่อย ๆ เรียนการทำเว็บไซต์ และลองผิดลองถูกกับกราฟฟิคบนเว็บไซต์ไปได้ แต่ก็ต้องแลกมากับการใช้เวลาที่มากขึ้นอาจนานถึง 3-4 เดือน ทั้งจากการเรียนรู้ และความไม่ชำนาญในเรื่องหลักการออกแบบเว็บไซต์ แต่หากจ้างให้คนช่วยออกแบบและทำเว็บไซต์ให้ ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มไปเป็นประมาณ 13,000-40,000 บาทเลยทีเดียว

เริ่มสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ สร้างด้วยอะไรดีกว่ากัน

WordPress

เริ่มสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ สร้างด้วย WordPress

WordPress เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับทำเว็บไซต์ออนไลน์อันดับ 1 ตลอดกาล ได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับทำเว็บไซต์ที่ไม่ซับซ้อนอย่างการทำบล็อกบทความ เว็บไซต์ขายของเบื้องต้น ไปจนถึงเว็บไซต์ที่ซับซ้อนมาก ๆ ก็ได้เช่นกัน เนื่องจาก WordPress นั้นมีปลั๊กอินมาเป็นตัวช่วยมากมาย ทั้งยังสามารถใช้งานปรับแต่งได้ง่าย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานใด ๆ มากมายนัก 

ข้อดีของ WordPress:

  1. สามารถใช้งานได้ฟรี!
  2. WordPress มีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและเข้าใจได้สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการเขียนโค้ดเพื่อสร้างและบริหารเว็บไซต์ก็สามารถใช้งานได้
  3. มีธีมและปลั๊กอินที่สามารถใช้ปรับแต่งรูปแบบและฟังก์ชันของเว็บไซต์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทำระบบตะกร้าสินค้า การชำระเงิน ทำให้เว็บโหลดไว ให้คนเสิร์ชเจอเยอะ ๆ ทำให้สามารถกำหนดรูปแบบและความสามารถของเว็บไซต์ให้ตรงตามความต้องการของคุณ
  4. มีผู้ใช้งานเยอะทั่วโลก ชุมชนของผู้พัฒนาและผู้ใช้ WordPress ที่ใหญ่ทั่วโลก ทำให้มีแหล่งทรัพยากรมหาศาลสำหรับคำถาม คำแนะนำ และการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ WordPress
  5. แม้ว่า WordPress จะเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับการโจมตีบ่อยครั้งจากผู้ไม่หวังดี เช่นการโจมตีด้วยช่องโหว่ของปลั๊กอิน แต่โดยทั่วไปแล้ว WordPress มีการปรับปรุงและมีการอัปเดตเพื่อเสริมความปลอดภัย

ข้อเสียของ WordPress:

  1. ความยืดหยุ่นจำกัด บางครั้ง WordPress อาจจำเป็นต้องมีการปรับแต่งเพิ่มเติมหรือเขียนโค้ดเพื่อให้ได้รูปแบบหรือฟังก์ชันที่ต้องการ นอกจากนี้การใช้ปลั๊กอินจำนวนมากอาจทำให้เกิดความขัดแย้งหรือปัญหาความสมดุลของระบบ
  2. อาจมีความช้าเมื่อมีการโหลดหน้าเว็บที่ซับซ้อนหรือมีปลั๊กอินและธีมจำนวนมาก ต้องการการปรับแต่งและการตั้งค่าให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพที่ดี
  3. ปัญหาความปลอดภัย: ถึงแม้ว่า WordPress จะมีการปรับปรุงความปลอดภัย แต่ยังมีโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีสามารถโจมตีเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress ได้ อาจต้องดูแลการปรับแต่งและการรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
  4. การอัปเกรด WordPress ธีม และปลั๊กอินบางตัวอาจเกิดข้อขัดแย้งหรือไม่สามารถทำงานร่วมกันได้กับเวอร์ชันใหม่ของ WordPress ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการอัปเกรดเว็บไซต์

Wix

เริ่มสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ สร้างด้วย Wix

Wix อีกหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับทำเว็บไซต์แบบง่าย ๆ ยอดฮิตทั่วโลก เพราะออกแบบมาให้ทำง่าย ลาก ๆ วาง ๆ พร้อมมีธีมมาให้เลือกสรรแบบที่ไม่ต้องทำเองเยอะ เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจรายเล็กที่ฝันอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ข้อดีของ Wix:

  1. Wix มีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและมีการลากและวางสิ่งของที่สะดวกสบาย ทำให้มีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนโค้ด ไม่ต้องเรียนรู้เยอะก็สามารถใช้งานได้
  2. มีธีมและวิตเจ็ต (Widget) ที่หลากหลายให้เลือก คุณสามารถเลือกธีมที่ตรงกับความต้องการและสไตล์ของเว็บไซต์ของคุณได้ 
  3. มีการนำเสนอฟีเจอร์และปลั๊กอินต่างๆ ที่คุณสามารถเพิ่มเข้าไปในเว็บไซต์ของคุณได้ สามารถทำเว็บไซต์ขั้นพื้นฐานได้ทั้งหมด เช่น แบบฟอร์มติดต่อ, แผนที่ Google, สร้างร้านค้าออนไลน์ ฯลฯ
  4. มีบริการโฮสติ้งในตัว ทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องการหาโฮสต์เว็บไซต์แยกต่างหาก และมีการจัดการด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพให้คุณ
  5. มีเวอร์ชันฟรีที่สามารถใช้งานได้โดยไม่หมดอายุ

ข้อเสียของ Wix:

  1. ในรุ่นฟรีของ Wix อาจมีการแสดงโฆษณาของ Wix บนเว็บไซต์ของคุณอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อประสบการณ์ผู้ใช้และความมืออาชีพของเว็บไซต์ได้
  2. ขนาดไฟล์และความเร็วของเว็บไซต์: เว็บไซต์ที่ใช้ Wix อาจมีขนาดไฟล์ใหญ่และความเร็วในการโหลดที่ช้ากว่าเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยวิธีการอื่นๆ นอกจากนี้ เมื่อมีการเพิ่มฟีเจอร์หรือปลั๊กอินจำนวนมาก อาจส่งผลให้เว็บไซต์ช้าลง
  3. Wix มีการจำกัดสิทธิ์ในการเขียนโค้ดและปรับแต่งตามต้องการ นอกจากนี้ หากต้องการย้ายเว็บไซต์ออกจากแพลตฟอร์ม Wix ขั้นตอนจะมีความซับซ้อน
  4. โดเมนสำหรับแพคเกจฟรีจะมีชื่อ url ที่ยาว จดจำยาก หากจะปรับต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ตัวอย่างขั้นตอนการวิธีการ สร้างเว็บขายของออนไลน์ ด้วย WordPress

ก่อนที่จะเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์บน WordPress สิ่งที่ควรทำคือ วางแผนและออกแบบเว็บไซต์ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์ที่ต้องการจะสร้างขึ้นก่อน และวางแผนโครงสร้าง (site map) เพื่อให้เป็นแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ของคุณ

1. จด Domain

หลักการตั้งชื่อโดเมนหรือเว็บไซต์ง่าย ๆ คือ ชื่อโดเมนให้ สั้น กระชับ จดจำง่าย พิมพ์ง่าย ๆ และตั้งชื่อให้สื่อความหมายถึงสิ่งที่ธุรกิจที่ทำ รวมไปถึงการใช้นามสกุลที่เห็นได้บ่อย ๆ อย่าง .com .co หรือ .co.th เพื่อให้ลูกค้าไม่สับสน โดยราคาโดเมนนั้นจะมีตั้งแต่ 400-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับนามสกุลและโดเมนที่เลือกใช้ ซึ่งเว็บไซต์หลัก ๆ ที่คนมักจะไปซื้โดเมนกัน ได้แก่ Go Daddy, Namecheap, Hostatom เป็นต้น

2. เลือก Hosting หรือเลือกผู้ให้บริการเก็บข้อมูลเว็บไซต์

โฮสติ้งนั้นมีความสำคัญเนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดความเร็ว และประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยหากเป็นมือใหม่ ควรเลือกโฮสติ้งของไทยเพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา และควรเป็น PHP web server ควรใช้เวอร์ชั่น PHP 7.2 และเป็นเว็บแบบ HTTPS ไม่ใช่ HTTP  แต่อาจจะไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่จัดเก็บมากนัก เนื่องจากเว็บ WordPress ทั่ว ๆ ไปจะไม่ได้กินพื้นที่เยอะอยู่แล้ว

3. ติดตั้ง WordPress บน Hosting

ขั้นตอนในการติดตั้ง wordpress นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละ Hosting ที่ใช้ แต่หลัก ๆ แล้วจะเป็นการ เข้าสู่ระบบหลังบ้านของ Hosting แล้วเข้าสู่ Direct Admin เพื่อไปกด Install WordPress ในส่วนของการติดตั้ง CMS ต่าง ๆ

4. สร้างระบบตระกร้าสินค้า (Woocommerce)

เมื่อติดตั้ง WordPress และทำการออกแบบ ปรับหน้าตาเว็บไซต์ตามธีมต่าง ๆ แล้วอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือการสร้างระบบตะกร้า ในที่นี่จะนิยมใช้ Plugin ที่ชื่อ Woocommerce กันเพราะว่าเป็นปลั๊กอินฟรี ที่สามารถลงรายละเอียดสินค้า การจัดส่ง การชำระเงิน ทำระบบสต็อกต่าง ๆ ได้อย่างครบครัน เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์แบบสุด ๆ 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างคร่าว ๆ ของการทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์เท่านั้น หากใครอยากได้เทคนิคการซื้อขายสินค้า การตอบแชทออนไลน์ หรือข้อมูลเบื้องลึกเพิ่มเติม ก็อย่าลืมติดตามบล็อกของ นินจาแวน กันไว้ให้ดี แต่ถ้าหากต้องการส่งพัสดุ ให้ นินจาแวน เป็นผู้ช่วยจัดส่งพัสดุให้กับคุณ เรามีบริการจัดส่งพัสดุทั่วประเทศไทย ที่สะดวก รวดเร็ว ถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย ลงทะเบียนเป็นผู้ส่งพัสดุได้เลย! 

Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

รับเคล็ดลับในการทำธุรกิจให้ปัง ส่งตรงถึงอีเมลของคุณ

สมัครรับ Newsletter ผ่านอีเมลกับนินจาแวน เพื่อรับเคล็ดลับในการทำธุรกิจ ทั้งการตลาด การสร้างแบรนด์ การสร้างกลยุทธ์เพื่อลุยออนไลน์ การขนส่ง และทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ เพื่อให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้เลย

การกด "สมัครรับข่าวสาร" เท่ากับว่าคุณยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา และคุณยินยอมให้เราใช้ข้อมูลบัญชีของคุณเพื่อการส่ง Newsletter